โมเดลธุรกิจยอดฮิตของธุรกิจท่องเที่ยวในตอนนี้ วันนี้เรามาดูกันนะครับว่าในมุมมองของลูกค้า พวกเขาคิดอย่างไรบ้างกับโรงแรมที่มีสวนน้ำในตัว

สวัสดีครับ วันนี้เรามาคุยเรื่องสวนน้ำในโรงแรม โมเดลธุรกิจยอดฮิตของธุรกิจท่องเที่ยวในตอนนี้กันนะครับ สวนน้ำที่อยู่ในโรงแรม เป็นสวนน้ำประเภทนึงในสวนน้ำหลัก 3 ประเภท โดยสวนน้ำที่อยู่ในโรงแรมชื่อจริงๆ ของมันคือ resort waterpark ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากในทั่วโลก เช่น ใกล้ๆ บ้านเราอย่าง สิงคโปร์ ที่ sentosa ของ resort world จริงๆ เป็นโมเดลเดียวกับ resort waterpark ที่เป็นโรงแรมที่มีแหล่งท่องเที่ยวภายในของตัวเองด้วย ก็คือเมื่อไหร่ที่เรานอนที่รีสอร์ท จะสามารถเข้าไปเที่ยวในอควาเรียมหรือในสวนน้ำของเขาเองได้

ทำไมโมเดลธุรกิจแบบนี้ถึงเป็นที่นิยมมาก? ตัวอย่างที่น่าสนใจมากก็คือที่ grande centre point space ที่พัทยา ซึ่งอันนี้เป็นผลงานการทำเครื่องทำคลื่นของเรา โดยร่วมมือกับทางสถาปนิก โมเดลธุรกิจของสวนน้ำของโรงแรม จะให้คำตอบแบบนี้ครับ เช่น ถ้าเราไปพัทยา เราก็ต้องเที่ยวอยู่ในพัทยาอยู่แล้วใช่ไหมครับ โดยเฉพาะถ้าเป็นกลุ่มครอบครัว มีลูก เราก็จะต้องพาลูกไปที่ทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าเราพาลูกไปเล่นสวนน้ำที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ราคาต่อหัวประมาณ 700 บาท คิดประมาณนี้ราคาไม่ต้องแพงมากนะครับ ทีนี้มันจะเกิดอะไรขึ้นกับ 700 บาทนี้บ้าง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ สมมุติครอบครัวเรามี 4 คน ก็เท่ากับว่าเราจะต้องเสียค่าสวนน้ำ 2,800 บาทแล้ว บวกกับค่าโรงแรม สมมุติเราเอาห้องไม่ต้องดีมาก เอาแบบกลางๆ ค่อนไปทางดีหน่อยก็อาจจะเพิ่มอีกสัก 2,000 บาท ก็เป็น 4,800 บาท

จะเห็นว่าเราใช้เวลาในการทำกิจกรรม 1 วันก็คือการไปเที่ยวสวนน้ำ พร้อมกับไปนอนโรงแรมอีก 1 คืน สมมุติเราไปเที่ยววันเสาร์ เราไปเช็คอินโรงแรม แล้วก็ต้องรีบขับรถไปเที่ยวในช่วงบ่ายของวันเสาร์ พอเที่ยวเสร็จตอนเย็นเราก็ต้องขับรถกลับมา เช้าวันต่อมาเราก็อาจจะกินข้าวในโรงแรม แล้วก็ไม่มีอะไรทำเราก็ออกจากโรงแรม แล้วก็ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นอีก อาจจะไปแวะซื้อข้าวหลามหนองมน ไปอะไรก็ได้ จะเห็นว่าเงินนี่ไม่ได้ประหยัดหรอกครับ เมื่อเทียบกับอีกรูปแบบนึงคือ
โรงแรมที่มีสวนน้ำภายใน ที่ใหญ่พอ ดีพอแล้วก็สวยพอที่จะทำให้ลูกเราสามารถทำกิจกรรมได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไปทันทีคือ เราเช็คอินตอนบ่าย 2 ขนกระเป๋าขึ้นห้อง พอเด็กๆ เห็นว่ามีสวนน้ำเขาก็จะรบเร้าว่าจะไปเล่น เราก็จะเห็นว่าเด็กๆ เขาอยากเล่นสวนน้ำ สักบ่าย 3 ก็ลงมาเล่นน้ำ เพราะว่าสวนน้ำสนุก มีสไลเดอร์ มีทะเลเทียม มี lazy river มีเครื่องเล่นต่างๆ นานาที่ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมอยู่ในสวนน้ำได้ 3-4 ชั่วโมง เล่นเสร็จก็ประมาณสักทุ่มนึงละ สมมุติเราขี้เกียจ ไม่อยากขับรถไม่อยากไปกินข้าวข้างนอกเราก็สั่งอาหารโรงแรมได้ อาหารโรงแรมอาจจะราคาใกล้เคียงกันหรือแพงกว่าข้างนอกหน่อยหรือเราไม่อยากสั่งอาหารโรงแรม เดินไปกินเซเว่นข้างหน้า อะไรก็ได้เหมือนกัน มันก็จะใช้เวลาน้อย มีเวลาพักผ่อน พอตื่นเช้ามา 6 โมงเช้าเล่นสวนน้ำอีกสัก 2 ชั่วโมง 9 โมงเช้ากินข้าวสักชั่วโมง พอ 10 โมงไปเล่นอีกจนถึงเกือบๆ เที่ยงแล้วก็ออกจากโรงแรม แสดงว่าเวลาที่น้องๆ จะได้มีกิจกรรมในสวนน้ำคือ 2 วัน วันนึงประมาณ 3 ชั่วโมง จึงเหมือนได้เล่นสวนน้ำ 2 ครั้ง อย่างที่ 2 สมมุติว่าพ่อแม่ไม่อยากเล่นด้วย แค่อยากเป็นคนนั่งดูเฉยๆ พ่อแม่ก็ไม่ต้องเสียค่าตั๋วเข้าไป จะนอน chill out อะไรก็ว่าไป

จะเห็นว่าจริงๆ แล้วการมีสวนน้ำในโรงแรม เกิดการประหยัดทั้งในเชิงของ ราคา เวลาและความปลอดภัย ความปลอดภัยของสวนน้ำในโรงแรมก็จะดีกว่าเพราะว่าไม่มีคนนอกเข้ามา อย่างที่ 2 คือความหนาแน่นของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการก็จะมีไม่มาก เพราะมีเพียงลูกค้าในโรงแรมเท่านั้น จะไม่มีคนแปลกๆ คนห่ามๆ เข้ามา พวกอุปกรณ์หรือสไลเดอร์ต่างๆ ก็จะได้รับการดูแลจากทางโรงแรมอย่างใกล้ชิดกว่า
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าการสร้างสวนน้ำในโรงแรมจากมุมของผู้บริโภค เขาจะทำกิจกรรมได้ตั้งแต่บ่ายวันแรกที่เช็คอิน จนเช้าวันถัดมาถูกไหมครับ เขาก็จะมีเวลาในการทำกิจกรรมพวกนี้ค่อนข้างเยอะ พอเขาออกจากโรงแรมจะกลับบ้าน พอขับรถออกจากพัทยาก็ยังสามารถไปเที่ยวต่อก่อนที่จะกลับบ้านช่วงเย็นๆ ดึกๆ ได้ เห็นไหมครับ ในมุมของผู้บริโภคอย่างแรกเขาไม่ต้องซื้อตั๋วสวนน้ำแยกต่างหาก อย่างที่ 2 เขาไม่ต้องขับรถไปขับรถมา ไม่ต้องไปต่อคิว อย่างที่ 3 ได้เรื่องของความปลอดภัยด้วย จะเห็นว่าการมีสวนน้ำในโรงแรมจะทำให้ลูกค้ารู้สึกโอเคกว่า ที่นี้ครั้งนี้เป็นการคุยกันแบบไอเดียง่ายๆ ของผู้บริโภค เดี๋ยวคราวหน้าเราจะมาคุยกันด้านไอเดียของผู้ประกอบการว่าทำไมถึงควรจะมีสวนน้ำอยู่ในโรงแรม แล้วเจอกันคราวหน้านะคร้าบ สวัสดีครับ



