การออกแบบการบริการในโรงแรมที่มีสวนน้ำ ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องออกแบบให้สัมพันธ์กัน ไปดูกันครับ

สวัสดีครับวันนี้เรามาพูดต่อถึงเรื่องสวนน้ำในโรงแรมนะครับ ก่อนอื่นต้องแยกแยะประเด็นอย่างนี้ก่อนนะครับ สวนน้ำในโรงแรมกับสวนน้ำที่รองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแบบใหญ่ๆ อย่าง Vana Nava อะไรแบบนี้ มันจะมีความต่างกันพอสมควรก็คือสวนน้ำในโรงแรมมันจะเป็นสวนน้ำที่ คนที่มาเที่ยวเขาตัดสินใจมานอนที่นี่แล้ว เพราะฉะนั้นสวนน้ำในโรงแรมแน่นอนอย่างที่ 1 เลยคือเวลาในการทำการต้องสอดคล้องกับคนที่มาพัก เขาจะมาพักโรงแรมเราเมื่อไหร่ล่ะ? หลักการโดยพื้นฐานก็คือเขาจะเช็คอินประมาณบ่าย 2 แล้วก็เช็คเอาท์ประมาณเที่ยง แปลว่าลูกค้าเขามีสิทธิ์ที่จะเข้ามาใช้สวนน้ำของเราหลังบ่าย 2 จนถึงเที่ยงของอีกวันนึง ทีนี้ลูกค้าจะใช้เวลาไหนบ้าง?
ลูกค้าจะใช้สวนน้ำอยู่ 2 เวลาที่เป็นหลักๆ นะครับก็คือช่วงเย็น เช่น ตั้งแต่ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป จนอาจจะถึงทุ่มนึงก็ได้ประมาณนี้ อันที่ 2 ก็คือช่วงเช้านะครับ พอเห็นแล้วว่าลูกค้าเราใช้บริการอยู่ 2 ช่วง ช่วงเย็นกับช่วงเช้า ทีนี้เราเคยไปพักโรงแรมไหมครับ เปิดสระว่ายน้ำ 8 โมง เปิดมาปุ๊บแดดร้อนเปรี้ยงเลย ก็จะไม่ค่อยมีคนใช้ หรือปิดสระว่ายน้ำ 6 โมงเย็นอันนี้ก็ไม่ค่อยมีคนใช้อีกเพราะว่ายังไม่ทันกลับจากกินข้าวหรือไปเที่ยวที่ไหนเลย
เวลาปิด
เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะให้ลูกค้ามาพักที่โรงแรมของเราแล้วเขาอยากจะใช้บริการสวนน้ำ เราก็ต้องออกแบบเรื่องเวลาให้เหมาะสมกับลูกค้าด้วย เช่น ลูกค้ามาพักที่เรา เขาอาจจะเริ่มใช้สวนน้ำตอนที่แดดไม่ร้อนมากแล้ว เช่น 5 โมงเย็น อะไรแบบนี้ ตรงนี้ถ้าเรารีบปิด 6 โมงเย็น ลูกค้าก็อาจจะใช้ไม่ทัน ลูกค้าจะรู้สึกว่าที่เสียตังค์มาค่อนข้างแพงแล้วไม่ได้ใช้ ลูกค้าก็จะไม่พอใจ แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่เป็นเราปิดให้บริการสักทุ่มนึง หรือมี Zone ที่ปิดให้บริการช้าหน่อย ที่มันปลอดภัย เช่น Lazy River อะไรอย่างนี้ครับ ก็จะช่วยให้ลูกค้าเขาสามารถใช้บริการได้ ฉะนั้นเวลาปิดของรอบกลางคืนก็จะสำคัญ

เวลาเปิด
ต่อมาก็คือเวลาเปิด บางทีลูกค้าเป็นเด็กน้อย พอเป็นเด็กน้อยสิ่งที่เขาจะทำคือเขาจะเล่นตลอดเวลาล่ะ เขาจะพยายามเล่นให้ได้เยอะที่สุด เพราะเขามาแล้วเขาก็จะสนุก เขาก็จะตื่นเช้ามากเช่น 6 โมงเช้าอะไรอย่างนี้ครับ ทางโรงแรมก็อาจจะต้องปรับตัวนิดนึงว่า เอ้อ ถ้า 6 โมงเช้านี่ต้องเปิดแล้วหรือเปล่า หรือเต็มที่เลยไม่ควรเกิน 7 โมงเช้า
อาหาร
ซึ่งอันนี้ก็จะไปสัมพันธ์กับการออกแบบการบริการอื่นๆ ของโรงแรม เช่น โรงแรมก็อาจจะต้องมีการให้บริการในเรื่องของอาหาร ว่าโรงอาหารหรือบุฟเฟ่ต์จะต้องอยู่ตรงไหน เพราะโรงแรมอื่นเขาไปใช้บริการก็แค่ไปกินข้าว แล้วสายๆเขาก็จะออกไป แต่โรงแรมเราเขาจะเล่น เพราะฉะนั้นอาหารเราก็ต้องสอดคล้องกับเวลาของเขาด้วยนะครับ
อย่างการให้บริการเรื่องของอาหาร เป็นไปได้ไหมที่จะให้เขานั่งกินอยู่ข้างสวนน้ำ มีคาเฟ่ มีอะไรที่ทำให้เขานั่งกินได้ ซึ่งอันนี้ก็ทำให้ลูกค้าสะดวกตรงที่เขาไม่ต้องออกไปเที่ยวที่อื่น เขาก็จะนั่งกินตรงนั้นแล้วก็เฝ้าลูกเล่นไปด้วย ก็จะเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง มันก็จะเกิดเทรนด์ใหม่ๆ ที่เราไม่ไปไหน เราเที่ยวอยู่ตรงนี้ล่ะ อะไรประมาณนี้นะครับ ซึ่งมันโอเคมากๆ อันนี้ลองดูนะครับ

ห้องน้ำ
เรื่องห้องน้ำ ต้องมีการใช้ห้องน้ำอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าอะไรประมาณนี้ใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มันมีการใช้ห้องน้ำ จำนวนห้องน้ำในพื้นที่สวนน้ำต้องมีเยอะพอสมควร อันนี้คือภาพบรรยากาศโดยทั่วๆ ไปของการให้บริการของโรงแรมที่มีสวนน้ำ ซึ่งมันจะต่างกับโรงแรมทั่วไปที่มีแค่สระว่ายน้ำนะครับ
จุดถ่ายรูป
เรื่องของจุดถ่ายรูป เราอยากให้ลูกค้าเอารูปของโรงแรมเราไปโพสต์ในอินเตอร์เน็ต เพราะฉะนั้นในตอนออกแบบตั้งแต่แรกจะต้องคิดแล้วว่า ลูกค้าจะถ่ายรูปตรงไหน ลูกค้าจะถ่ายกับอะไร ถ่ายแล้วจะจำได้ไหมว่าที่นี่เป็นเราหรือว่าหลงไปเป็นที่อื่น

เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าในการออกแบบนั้นจะมีการออกแบบ 2 ส่วน ที่ต้องสัมพันธ์กันนะครับ การออกแบบส่วนที่ 1 คือการออกแบบงานบริการที่ต้องสัมพันธ์กับสวนน้ำ การออกแบบอันที่ 2 ก็คือการออกแบบพื้นที่ที่ต้องออกแบบสวนน้ำ
เดี๋ยวคราวหน้าเรามาพูดกันถึงเรื่องการออกแบบบริการนะครับ ว่าโรงแรมควรจะออกแบบบริการแบบไหนที่สัมพันธ์กับสวนน้ำนะครับ สวัสดีคร้าบ
สนใจงานสวนน้ำสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เพจของเราเลย : https://www.facebook.com/K2JDesign
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็ปหลักของเรา : https://k2jdesign.com/