ออกแบบสีสวนน้ำยังไงให้ไม่ร้อน

ออกแบบแก้ปัญหาความร้อนในสวนน้ำ เลือกสีทางเดินและอาคารอย่างไรให้ไม่ร้อน เลือกใช้สีขาวร้อนน้อยกว่าสีดำจริงหรือ ไปดูกันครับ

สวัสดีครับวันนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องของสี เรื่องของวัสดุนะครับ ว่ามันมีผลยังไงต่อบรรยากาศ ต่ออุณหภูมิในสวนน้ำบ้าง จริงๆ แล้วทุกคนจะชอบคิดว่าสีขาวเนี่ย มันสะท้อนแสงได้ดี พอมันสะท้อนแสงได้ดีสีขาวก็น่าจะไม่ร้อนใช่ไหมครับ ส่วนสีดำเนี่ยมันสะท้อนแสงได้ไม่ดี มันก็น่าจะทำให้ร้อน ซึ่งจริงๆ ความเชื่อนี้มันก็ถูกนะ ถูกครึ่งไม่ถูกครึ่ง

จริงๆ แล้วแสงอาทิตย์มันเป็นต้นเหตุของความร้อนของอาคาร ของสวนน้ำ ของทุกสิ่งทุกอย่างแหละ เพราะแสงมันเป็นที่มาของความร้อนอยู่แล้ว แต่ทีนี้แสงอาทิตย์ที่มันลอยมาจากฟ้าเนี่ย แน่นอนว่ามันจะเข้มข้นมันจะน้อยลงหรือมากขึ้นก็ขึ้นอยู่กับเมฆ เช่น วันไหนถ้าเมฆเยอะก็จะบังแสงอาทิตย์ วันนั้นความเข้มข้นของแสงน้อย บรรยากาศมันก็จะร้อนน้อยหน่อยนะครับ แต่วันไหนที่ไม่มีเมฆมาคั่นเลยแสงอาทิตย์ก็จะต้องร้อนเป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้นเรื่องของแสงอาทิตย์ วันไหนแสงมากแสงน้อยเป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ก็คือเรื่องของร่มเงานะครับ อันนี้อันที่ 1 ซึ่งแน่นอนสถาปนิกพูดกันเยอะแยะว่าจะต้องทำร่มเงาแบบไหน อันนี้เราไม่ต้องพูดถึงแล้ว

แต่ว่าส่วนที่ 2 ที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดถึงก็คือเรื่องของการสะท้อนแสง แสงอาทิตย์เนี่ยเป็นคลื่น เป็นรังสี ที่วิ่งมาจากอวกาศ นอกโลกจากดวงอาทิตย์จนมาถึงโลก พอมันมาถึงโลกมันก็จะมีชั้นโอโซนกรองแสงใช่ไหมครับ แล้วพอมันตกกระทบวัตถุมันก็จะสะท้อน แต่ประเด็นสะท้อนเนี่ยสำคัญนะครับ วัตถุสีดำหรือสีเข้ม มันจะดูดกลืนแสง แปลว่าแสงอาทิตย์ที่เข้ามาอยู่ในวัตถุสีดำมันจะเก็บความร้อนของพระอาทิตย์ได้เยอะ

เพราะฉะนั้นตัววัสดุเองมันจะร้อน ยิ่งวัสดุสีเข้มมากเท่าไหร่ยิ่งดูดกลืนแสงอาทิตย์ได้ดี หมายความว่าถ้าวัสดุ เช่น พื้นทางเดินของเราเป็นสีดำมันอาจจะทำให้แสงพระอาทิตย์ที่เข้ามา 100% อาจจะสะท้อนกลับไปแค่ 20% และเก็บไว้ 80% เพราะฉะนั้นพื้นทางเดินที่เป็นสีดำมันจะทำให้เราร้อนเท้ามาก เท้าเราจะร้อนปี๊ดเลยนะครับ อุณหภูมิมันจะสูงมาก แน่นอนเราทุกคนก็คงจะคิดว่าไม่อยากให้มันร้อนน่ะ เราก็ต้องไม่เลือกวัสดุที่มันเป็นสีดำสิ ถูกต้องไหมครับ นี่เป็นของคิดแบบพื้นฐานเลยทั่วๆ ไป

vlcsnap-2023-09-14-16h33m27s777

แต่ว่ามันมีอีกเรื่องหนึ่งที่ต่างออกไป ก็คือการสะท้อนของแสงนะครับ ในขณะที่วัสดุสีเข้มมันดูดกลืนได้ดีทำให้เรารู้สึกร้อนที่เท้า เพราะตัววัสดุมันดูดแสงไว้ทั้งหมด วัสดุสีอ่อนอย่างสีขาวมันดูดกลืนความร้อนไม่ดี คือมันสะท้อนได้ดีกว่า สมมุติเราเอาวัสดุสีดำมาตั้งกลางแดด กับวัสดุสีขาว เช่น ทรายล้างสีขาวมาตั้งกันแดด วัสดุสีดำอาจให้อุณหภูมิถึง 60 องศา ในขณะที่วัตถุสีขาวให้แค่ 40 องศา

ด้วยความคิดแบบนี้ก็เลยมีคนออกแบบให้ทางเดินเป็นสีขาว เพราะคิดว่าจะได้ไม่ร้อน แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นเลย วัสดุสีขาวเพราะแสงอาทิตย์ตกกระทบลงมาแล้วมันสะท้อน แต่มันไม่ได้สะท้อนเปล่าๆ นะ มันเสียพลังงาน หมายถึงมันเสียจากคลื่นยาวกลายเป็นคลื่นสั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ แสงอาทิตย์นี้จะกลายเป็นฟิล์มความร้อนที่สูงอาจจะสัก 2 เมตร จากหัวเรา เมื่อมันสูงประมาณสัก 2 เมตรเนี่ยแปลว่าอะไร? แปลว่าที่เท้าเรามันไม่ร้อนเพราะอุณหภูมิที่เท้าเรามันแค่ 40 องศา แต่ว่าสิ่งที่เราร้อนคือมันร้อนทั้งตัวเลย เพราะว่าฟิล์มความร้อนที่เกิดจากแสงคลื่นสั้น ที่เกิดจากการสะท้อนของผิววัตถุ มันกลายเป็นฟิล์มความร้อนหนาๆ

เพราะฉะนั้นในการออกแบบเส้นทางเดินหรือโครงสร้างอาคารมันมีเรื่องที่ต้องคิด 2 เรื่อง อย่างที่ 1 ก็คือเอาเรื่องพื้นทางเดินเป็นหลักนี่แหละ คือถ้าเราเลือกใช้สีเข้มจนเกินไป มันจะทำให้ตัวพื้นเองอมความร้อนมาก เมื่อเราเดินไปไหนมาไหนเขาจะรู้สึกว่ามันร้อน ซึ่งความร้อนอันนี้จะไม่แผ่รังสีขึ้นมาเหนือหัวเรา ทำให้เราร้อนเฉพาะตรงส่วนเท้า ถ้าเราอาจจะพองก็ได้นะ 60 องศา ในทางตรงข้ามถ้าเราดันไปเลือกวัสดุสีขาว อันนี้จะทำให้มีฟิล์มความร้อนขึ้นมาเหนือศีรษะเรา เพราะมันสะท้อนจากคลื่นยาวขึ้นมาเป็นคลื่นสั้น เป็นฟิล์มความร้อนเหนือหัวเราประมาณ 2 เมตรกว่าอะไรประมาณนี้ มันก็จะทำให้เราร้อนทั้งตัวแต่เท้าเราไม่ร้อน

เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ออกแบบให้พื้นทางเดินเป็นสีขาว พื้นโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นสีขาว จะทำให้ภายในสวนน้ำใครมาเล่นก็จะรู้สึกร้อน รู้สึกไม่สบาย มันก็จะมีผลในระยะยาวกับลูกค้า ลูกค้าก็จะไม่ชอบ เห็นไหมครับแค่การเลือกสีพื้นมันมีผลขนาดนี้เลยนะ มีตัวเลข มีอะไรที่เป็นตัวยืนยันอย่างที่เราเคยออกแบบไว้ เราก็ใช้ส่วนนี้มาคำนวณด้วย วันนี้ก็เท่านี้ก่อนนะครับ สวัสดีครับ

20230309_155408

สนใจงานสวนน้ำสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เพจของเราเลย : https://www.facebook.com/K2JDesign

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็ปหลักของเรา : https://k2jdesign.com/

Our website uses cookies to improve your experience and to analyse our website traffic. By clicking accept and continuing to use our website, you confirm that you have reviewed and agree to our Data Privacy Policy and you agree to our notice on the use of cookies.