ออกแบบทางเดินในสวนน้ำอย่างไรให้ไร้ปัญหา

การออกแบบทางเดินสำหรับลูกค้าในสวนน้ำ 2 กลุ่ม คือคนที่ใส่รองเท้าและไม่ใส่รองเท้า สำคัญอย่างไร ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ไปดูกันครับ

สวัสดีครับเมื่อไม่นานวันนี้ผมได้คุยกับลูกค้า ลูกค้าพูดถึงเรื่องความร้อนของสวนน้ำที่ให้บริการ ลูกค้าพูดเรื่องนี้กับผมเพราะว่าสวนน้ำโดยทั่วไป แน่นอนว่าจะมีจุดหนึ่งที่เป็นปัญหาแน่ๆ ก็คือลูกค้าของสวนน้ำต้องลงน้ำใช่ไหมล่ะครับ ลงน้ำ เล่นสไลเดอร์หรืออะไรพวกนี้ มันก็จะมีปัญหาตรงที่ว่าจะต้องถอดรองเท้าเดินเพราะเดี๋ยวเราก็ต้องลงสระน้ำ ลงสไลเดอร์อะไรแบบนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือพื้นร้อนและทำให้รู้สึกไม่สบาย เราก็ต้องมาแก้ปัญหากันว่านี่มันร้อน มันจะต้องใส่รองเท้าไหม พอเราให้ใส่รองเท้าสิ่งที่ตามมาคือรองเท้าหายบ้าง สกปรกบ้างอะไรประมาณนี้ จริงๆ ตรงนี้มีวิธีแก้ง่ายๆ เลยอยู่ 2 แบบนะครับ

แบบที่ 1 ก็คืออยู่ที่ตอนออกแบบเลย ถ้าตอนออกแบบเราคิดไว้ล่วงหน้า โดยจะต้องคิดล่วงหน้า 2 เรื่อง เรื่องที่ 1 ก็คือต้องคิดว่าลูกค้าอาจจะร้อน เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องกำหนดวิธีการเดินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินจากจุดนี้ไปจุดนี้ เราอาจจะใช้ Lazy River เป็นตัวขนส่งอันนี้ก็ทำได้ หลายๆ ที่ก็ทำแบบนี้ล่ะครับ ก็คือออกแบบให้ใช้ Lazy River เป็นจุดขนส่งอันนี้เราก็ทำได้ ก็คือ Lazy River มันวิ่งรอบสวนน้ำไปเลย เพราะฉะนั้นเวลาจะไปไหนก็สามารถใช้ Lazy River ในการเคลื่อนตัวไปได้ ซึ่งอันนี้ก็จะเหมาะกับสวนน้ำที่คนเล่นสวนน้ำเป็นส่วนใหญ่ หมายถึงลงน้ำเกือบทุกคน เช่น ลูกค้าต่างชาติก็จะเหมาะ ลูกค้าจะชอบ คือเล่นด้วยเดินทางด้วยอะไรประมาณนั้น

ถ้าเรามีลูกค้าอีกแบบคือลูกค้าเราเป็นคนไทย แล้วก็ไม่ได้มีพฤติกรรมว่าทุกคนจะลงน้ำหมด คนกลุ่มนี้เขาก็จะต้องใส่รองเท้า พอเขาใส่รองเท้าสิ่งที่จะต้องตามมาก็คือ ในเมื่อเขาใส่รองเท้าเขาก็จะเดินไปเดินมาได้สะดวกนั่นแหละ แต่ว่ารองเท้าของเขามันจะทำให้เกิดการเลอะเทอะของพื้นขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะต้องไปพิจารณาว่าพื้นตรงส่วนที่คนเขาใส่รองเท้าเดิน จะต้องเป็นพื้นแบบแห้งนะครับ การออกแบบตรงนี้จึงต้องเป็นการออกแบบแบบ circulation เพราะตรงที่คนใส่รองเท้าเดินจะทำให้พื้นเลอะเทอะ แล้วคนอีกกลุ่มที่เขาใช้บริการเขาจะไม่ได้ใส่รองเท้าเขาจะต้องเดินบนพื้นที่เลอะ

beautiful-portrait-young-asian-woman-with-afternnoon-tea-set-with-coffee-sit-chair-around-swimming-pool
vlcsnap-2023-09-07-15h42m42s276

เราจึงต้องมีการออกแบบเส้นทางเพื่อที่จะทำให้คนที่เขาไม่ได้ใส่รองเท้า เหมือนกึ่งๆ จะเดินแยกกับคนที่ใส่รองเท้า คนที่ไม่สวมรองเท้าเขาเดินทางไหน คนที่ไม่สวมรองเท้าก็หมายถึงส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ใช้บริการ ผู้ใช้บริการมักจะเดินไปในทางที่ไปจุดบริการอื่นๆ เช่น เดินจาก Lazy River ไปสไลเดอร์ จากสไลเดอร์ไปทะเลเทียม จากทะเลเทียมไปสไลเดอร์วนๆ กันไปแบบนี้ ก็จะประมาณนี้นะครับ

เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า 2 กลุ่มนี้คือกลุ่มที่ใส่รองเท้ากับไม่ใส่รองเท้า กลุ่มที่เขาใส่รองเท้าเขาก็จะเดินไปเข้าห้องน้ำ ไปซื้อของ ซื้ออาหาร ซื้อน้ำดื่ม อะไรประมาณนี้ คนที่ไม่ใส่รองเท้าเขาก็จะเดินอีกทางนึง แสดงว่าโดยพื้นฐานแล้วเส้นทางของคน 2 กลุ่มนี้ก็มีการ Cross กันน้อยอยู่แล้ว สิ่งเดียวที่จะมีการ Cross กันหรือต้องมาเจอกันก็คือห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ใส่รองเท้าหรือไม่ได้ใส่รองเท้าเขาก็ต้องเข้าห้องน้ำ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงเป็นเรื่องของการออกแบบทางเดิน ฟังนะครับเรามีกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในสวนน้ำอยู่ทั้งหมด 2 กลุ่ม ในการคิดเรื่องนี้

เรื่องที่ 1 คือเรื่องของกลุ่มคนที่ไม่ได้ใช้บริการตัวเครื่องเล่น ก็คือมานั่งรอพ่อแม่ลูกเฉยๆ อะไรประมาณนั้น กลุ่มที่มานั่งรอมักจะเป็นคนที่สวมรองเท้าและมีเส้นทางเดินไปบางจุดที่ไม่ใช่เครื่องเล่น ที่ไม่ได้เดินลง Lazy River ไม่ได้ลงสวนน้ำ ไม่ได้เดินไปสไลเดอร์ ไม่ได้เดินไปที่ทะเลเทียม เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้จะมี circulation แบบนึง

vlcsnap-2023-08-18-17h20m12s156-KPic-bJPF

อีกกลุ่มหนึ่งก็จะมี circulation อีกแบบนึงก็คือกลุ่มที่ใช้บริการ กลุ่มนี้ก็จะมี Circulation ในการใช้บริการก็คือว่า มักจะต้องเดินผ่านในส่วนที่เป็นสวนน้ำ ส่วนที่เป็นเครื่องเล่น ส่วนที่เป็นอะไรต่างๆ นะครับ Lazy River สไลเดอร์ บ้านเด็กอะไรพวกนี้ เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้เขาจำเป็นจะต้องเดินเท้าเปล่า อุณหภูมิของพื้นผิวทางเดินจึงมีผลกระทบต่อคนกลุ่มนี้ แต่จะไม่มีคนต่อคนกลุ่มแรก

ทีนี้ในคน 2 กลุ่มนี้เขาก็จะมีโอกาสเจอกันแค่ในสาธารณูปโภค ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการ Cross กันของทั้ง 2 กลุ่มก็คือว่า คนที่ไม่ใส่รองเท้าก็เจอทางเดินที่สกปรกกว่าและร้อนกว่าสิ่งที่เขาควรจะได้ ในขณะที่คนที่ใส่รองเท้าไม่เกิดอะไรขึ้นเลย และในปลายทางที่มักจะมีปัญหากับคนทั้ง 2 กลุ่มก็คือห้องน้ำ เพราะฉะนั้นวิธีง่ายที่สุดในการออกแบบเบื้องต้น ให้มองว่าคนที่ไม่ใส่รองเท้า เขาจะนั่งกันอยู่ตรงไหน แล้วให้เขามีทางเดินเป็นของตัวเองและมีห้องน้ำเป็นของตัวเอง อย่างที่ 2 ก็คือจะให้มองว่าคนที่ใช้บริการแล้วไม่ได้ใส่รองเท้าเนี่ย เขามีทางเดินอยู่ตรงไหน แล้วก็ให้เขาใส่รองเท้าไปซะนะครับ

20221203_093436

จะเห็นว่าทั้ง 2 กลุ่มเนี่ย มีทางเดินที่ต่างกัน การออกแบบก็จะเป็นเรื่องของการออกแบบพื้นที่ ว่าคนไม่ใส่รองเท้าจะให้เขานั่งรวมกันอยู่ตรงไหน และกลุ่มคนที่ใส่รองเท้าจะให้เขามีทางเดินทางไหน แต่กลุ่มคนใส่รองเท้าเรื่องทางเดินไม่ค่อยเป็นประเด็นสำหรับเขาเท่าไหร่ เพราะเขาก็ใส่รองเท้าเดินไปเดินมาอยู่แล้ว แต่จะเป็นประเด็นที่ไปทำให้ทางเดินคนอื่นสกปรก เพราะฉะนั้นควรจะให้เขามีห้องน้ำเป็นของตัวเอง

ในทางตรงข้ามกลุ่มคนที่ใช้บริการที่เดินไปเดินมาเยอะๆ อันนี้จะเป็นจุดสำคัญที่เราจะพูดกันครั้งหน้าก็คือการออกแบบทางเดินให้เขา ว่าทำยังไงให้เขาเดินสบาย ไม่ร้อนเท้า รวมถึงไม่ร้อนตัวด้วย อันนี้คือเรื่องทางเทคนิคนะ เรื่องทางเทคนิคของการเลือกวัสดุทางวิศวกรรม เลือกอุณหภูมิของผิววัสดุอะไรประมาณนี้นะครับ แต่ว่าทางการออกแบบควรจะจบกันที่ว่าทั้งคนที่ใส่รองเท้าและไม่ใส่รองเท้าควรจะมีทางเดินกันคนละเส้น ควรจะเริ่มจากตรงนี้ก่อนนะครับ หลังจากนั้นค่อยมาคิดถึงเรื่องของการออกแบบในรายละเอียดย่อยต่างๆ เนอะ ก็ประมาณนี้สวัสดีคร้าบ

สนใจงานสวนน้ำสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เพจของเราเลย : https://www.facebook.com/K2JDesign

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็ปหลักของเรา : https://k2jdesign.com/

Our website uses cookies to improve your experience and to analyse our website traffic. By clicking accept and continuing to use our website, you confirm that you have reviewed and agree to our Data Privacy Policy and you agree to our notice on the use of cookies.